
ลักษณะของ Active Learning
จะเป็นลักษณะที่นักเรีนมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนด้วยกัน จนส่งผลให้บรรลุสำเร็จทางด้านวิชาการ
เกิดทักษะทางด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน มีการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดไปสู่ในระดับที่สูงขึ้น เกิดเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียนและเกิดแรงจูงใจต่อการเรียนรู้
ได้มีผู้แนะนำว่า การฝึกการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันอย่างง่ายที่สุด คือ การให้ผู้เรียนได้จับคู่กันทำกิจกรรมด้วยกัน อาจเริ่มต้นจากจับคู่กันอ่านในเรื่องเดียวกัน
แล้วผลัดกันตั้งคำถาม-และตอบ หรือให้ไปเตรียมตัวอ่านมาล่วงหน้า เตรียมคำถามมา แล้วจึงค่อยมาจับคู่กันถามตอบ แต่ไม่ว่าจะใช้เทคนิคใดๆ ก็ตาม จะต้องไม่ใช้ซ้ำซาก
เพราะจะเกิดความเบื่อหน่ายและการจับคู่ผู้เรียนก็ควรสับเปลี่ยนคู่บ่ายๆ และควรเลือกคู่ประเภทนั่งหน้ากับหลังมากกว่าให้จับคู่ที่นั่งชิดกัน (เพื่อนสนิทมักจะนั่งชิดกัน) และเหนือสิ่งอื่นใดการวางแผนจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิด AL นั้นจะต้องถือว่ากิจกรรมนั้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด จัดเพื่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างใครกับใคร ต้องใช้เวลามากน้องเพียงใด
เราต้องการเพียงกิจกรรมการพูดคุยเพื่อค้นหาคำตอบแค่นั้น หรือมีกิจกรรมอย่างอื่นที่จะต้องทำต่อเนื่องด้วย ทั้งนี้เพื่อการจัดเวลาที่เหมาะสม ตลอดจนมีเวลาเพื่อสรุปและประเมินผลกิจกรรมต่างๆ ด้วย
จะเห็นว่า Active Learning มีความสำคัญมาก เราจึงนำตัวอย่างคู่มือการใช้หน่วยการเรียนรู้ Active Learning จำนวน 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มาฝากกันครับ
สามารนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมครับ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ไฟล์ 1 ไฟล์ 2อ้างอิง
: http://www.sesao15.go.th/web15/
: วารสารวิชาการ ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 กันยายน 2546 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรมวิชาการ
ขอบคุณข้อมูลจาก www.kruupdate.com

สรุปกำหนดการอบรมหลักสูตรออนไลน์สำหรับผู้ที่ได้รับสิทธ์ กับ LearnEducation

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (13/2/63)

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการด้านกีฬา เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Nakamwittaya Academy) (13/2/63)

“นวัตกรรมเพื่อสังคม” ที่สร้างรายได้ สร้างสุขภาพ สร้างความสุข ให้แก่สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม

สามครูไทย คว้ารางวัล Global Teacher Award ที่อินเดีย

4 ความเห็นบน “คู่มือการใช้หน่วยการเรียนรู้ Active Learning”
ชอบtrainkru มีสาระดี มาให้ตลอด
เยี่ยมจริงๆ
ข้อสงสัย คือ การสอนคำศัพท์และใช้ภาพเป็นสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนหาความหมายคำศัพท์และจับคู่ให้ตรงกับรูปภาพ
เป็นการสอนแบบ Active Learning หรือไม่ (โปรดส่งคำตอบเข้าอีเมล์ จักขอบคุณยิ่ง)
ขอบคุณ นะครับ เป็นประโยชน์ แก่วงการศึกษา ครับ