
“เทคโนโลยี AI กำลังเข้าใกล้เรามากขึ้นทุกวัน อย่าไปกลัว แต่เรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน อย่าให้มันมาแทนที่เรา”
นี่คือสิ่งที่ ดร.ต้า หรือ ดร.วิโรจน์ จิรพัฒนกุล ผู้ซึ่งเคยทำงานวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้งานเฟซบุ๊กมาก่อน และเป็นผู้ที่คลุกคลีกับ AI กล่าวเอาไว้ ในยุคที่กำลังเปลี่ยนถ่ายจากการใช้แรงงานคนเป็นเทคโนโลยีเพื่อความสะดวก รวดเร็ว และลดต้นทุน โดยตอนนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงและหวาดกลัวกันมากว่าปัญญาประดิษฐ์ หรือเจ้า AI นี้จะเข้ามาทดแทนจนถึงขั้นเบียดเบียนชีวิตมนุษย์มากเกินไปหรือเปล่า แต่ดร.วิโรจน์ กลับพบว่าแม้เทคโนโลยีนี้จะอัจฉริยะและเก่งกาจเหนือมนุษย์ แต่เขาก็ยังเชื่อเสมอว่ายังมีสิ่งเล็ก ๆ ที่ต่อให้มีข้อมูลมากเท่าไหร่หรือแม่นยำแค่ไหน AI ก็ยังไม่สามารถรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ซับซ้อนและละเอียดลึกซึ้งของมนุษย์ได้ เพราะในบางครั้งเราเองก็ไม่ได้กด ‘ไลก์’ เพราะ ‘ชอบ’ เสมอไป
ในโลกของการศึกษาก็เช่นกัน ถึงแม้ว่า AI อาจจะมาแทนที่คุณครูได้ ในแง่ของการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับประสิทธิภาพหรือความถนัดของเด็ก ทำให้การเรียนการสอนเข้าถึงเด็กนักเรียนทุกคนโดยทั่วถึง แต่ AI มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ทำแทนคุณครูไม่ได้ นั่นคือ การเป็น “ครู” ที่เข้าอกเข้าใจเด็ก และเป็น “ครู” ที่พูดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ดังนั้นแทนที่จะปล่อยให้เทคโนโลยีทำหน้าที่ผู้สอนเพียงอย่างเดียว น่าจะเป็นการดีกว่าหรือไม่ที่ตัวคุณครูทำงานร่วมกับเทคโนโลยี ด้วยการใช้เทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนว่าแต่ละคนมีความสามารถและมีความถนัดอะไร และใช้ข้อมูลนั้นในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนเป็นรายคนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
1 ความเห็นบน “สมองกลแทนสมองคนได้จริงหรือ?”
ผมว่านะ ยังไงก็แทนกันไม่ได้เเบบที่เค้าว่านั่นแหละครับ
สมองกล เอไอ ต่างๆ มาทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น แต่ยากที่จะมาแทนคนได้เลยครับ
ท่านอื่นเห็น่วาไงบ้างครับ?