
เนื่องจากคราวที่แล้วผมพูดถึงการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปแล้ว คราวนี้มาดูกันว่า หลักเกณฑ์ของกฎ ก.ค.ศ. ฉบับนี้จะมีความเหมือนหรือแตกต่างจากของเดิมกันยังไง ไปดูกันครับ
หมวด ในครึ่งปีที่แล้วมา
ผมเรียกแบบนี้ก็แล้วกัน ซึ่งหลักเกณฑ์นี้จะยึดจาก หลักเกณฑ์และ วิธีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน ตาม กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน พ.ศ. 2544 กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2550 และระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการและลูกจ้างประจำผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงหรือใกล้ถึงขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่ง พ.ศ. 2550 ความหมายโดยรวมก็คือ ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาคุณครูได้ทำอะไรที่เข้าหลักเกณฑ์เหล่านี้บ้างหรือเปล่า ซึ่งถ้าหากเข้าข่ายอย่างลาเกิน ขาดเกิน มาสายบ่อยครั้ง ก็อาจจะไม่ได้รับการพิจารณาการเลื่อนเงินเดือนนะครับ
ซึ่งหลักเกณฑ์ในหมวดครึ่งปีที่ผ่านมาก็มี
1.ในครึ่งปีที่แล้วมา มีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้ (ร้อยละ 60 ) ในละรอบการประเมิน
2.ในครึ่งปีที่แล้วมา ไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัยที่หนักกว่าทางภาคทัณฑ์ หรือไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
3.ในครึ่งปีที่แล้วมา ไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่า 2 เดือน
4.ในครึ่งปีที่แล้วมาไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุอันควร
5.ในครึ่งปีที่แล้วมา ได้รับบรรจุเข้ารับราชการไม่น้อยกว่า 4 เดือน หรือปฏิบัติราชการมาไม่น้อยกว่า 4 เดือน ก่อนถึงแก่ความตาย
6.ในครึ่งปีที่แล้วมา ได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศหรือต่างประเทศ ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 4 เดือน
7.ในครึ่งปีที่แล้วมา ได้รับอนุญาตให้ลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติราชการหรือปฎิบัติงานในต่างประเทศ ต้องมีเวลาปฏิบัติราชการไม่น้อยกว่า 4 เดือน
8.ในครึ่งปีที่แล้วมา ไม่ลาหรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่หัวหน้าส่วนราชการกำหนด
9.ในครึ่งปีที่แล้วมา มีวันลาไม่เกิน 23 วัน ไม่รวมวันลาข้างต้น และวันลาอื่นๆ เช่น
– ลาอุปสมบทหรือประกอบพิธีฮัจย์
– ลาคลอดบุตร ไม่เกิน 90 วัน
– ลาป่วยที่รักษาตัวไม่เกิน 60 วัน
– ลาป่วยเพราะประสบอันตรายขณะปฏิบัติราชการหรือขณะเดินทางไปหรือกลับจากการปฏิบัติราชการลาพักผ่อน
– ลาเข้ารับราชการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล (คือการเข้ารับการตรวจสอบเข้ารับการฝึกวิชาทหาร หรือเข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อม ตามกฎหมาย กฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร)
– ลาไปปฏิบัติงานในองค์การต่างประเทศ
และส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาจะมี
– ลาไปช่วยเหลือภริยาคลอดบุตร (เฉพาะวันลาที่มีสิทธิ์ได้รับเงินเดือนตามกฎหมาย)
– ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (กรณีได้รับบาดเจ็บจนพิการหรือทุพพลภาพ)
ซึ่งวันลาสองวันนี้ปกติจะเห็นในข้าราชการพลเรือนและบุคลากรในมหาวิยาลัย ทำให้สิทธิ์ในการลาของคุณครูเพิ่มขึ้นมาในจุดนี้ครับ
10.ส่วนการเลื่อนเงินเดือนกรณีศึกษา ฝึกอบรม หรือปฏิบัติงานวิจัยนั้น
– ผู้บังคับบัญชาต้องอนุญาตให้ลาไปศึกษาและต้องได้รับอนุมัติจากก.ค.ศ. หรือ ก.ศ.จ. ที่ได้รับมอบหมาย
– และต้องสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตและตามระยะเวลาของหลักสูตรที่กำหนด โดยจะได้รับการเลื่อนเงินเดือนไม่เกินร้อยละ 2 ของฐานการคำนวณในแต่ละรอบประเมิน
– ถ้าเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับพิจารณาขึ้นเงินเดือน ก็ให้รอการเลื่อนเงินไว้ก่อน จนกว่าที่ผู้นั้นกลับมาปฏิบัติราชการ ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนย้อนหลังไปในแต่ล่ะครั้งที่รอการเลื่อนเงินเดือนเอาไว้
11.ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนจะนำเหตุที่ข้าราชครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนในกรณีที่ถูกกล่าวหาร้ายแรง หรือถูกฟ้องคดีอาญา เป็นเหตุให้ไม่ผ่านการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนไม่ได้
12.กรณีที่ถูกสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนมาแล้วเพราะเหตุถูกลงโทษทางวินัยหรือถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ถูกลงโทษ จะสั่งไม่เลื่อนเงินเดือนซ้ำอีกครั้งเพราะเหตุจากการกระทำความผิดเดียวกันไม่ได้
13.กรณีพ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จ บำนาญ ให้ผู้อำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือน เลื่อนเงินเดือนผู้นั้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จบำนาญ ในวันที่ 30 กันยายน ของปีที่พ้นจากราชการ
14.กรณีถึงแก่ความตายก่อนวันทื่ 1 เมษายน หรือ 1 ตุลาคม ให้ผู้อำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือน เลื่อนเงินเดือนผู้นั้นเพื่อเป็นประโยชน์ในการคำนวณบำเหน็จ บำนาญ โดยมีผลในวันที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย
15.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะเลื่อนเงินเดือนได้ตามกฎ ก.ค.ศ. นี้ แต่ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือนให้โดยมีเหตุผลเป็นกรณีพิเศษ ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือน โดยความเห็นชอบของ ก.ศ.จ. เสนอ ก.ค.ศ. เพื่อพิจารณาอนุมัติให้สั่งเลื่อนเงินเดือนเป็นการเฉพาะราย
16.การพิจารณาการเลื่อนเงินเดือนแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ลาไปศึกษา ฝึกอบรม หรือวิจัย อยู่ในวันก่อนวันที่กฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2550
17.ในวันที่กฎ ก.ค.ศ. นี้ใช้บังคับ ถ้าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนและผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนพิจารณาเห็นสมควรเลื่อนขั้นเงินเดือน แต่ผู้นั้นถูกรอการเลื่อนขั้นเงินเดือน เพราะเหตุกรณีถูกฟ้องคดีอาญาตามหลักเกณฑ์ที่บังคับใช้อยู่ในในวันที่กฎ ก.ค.ศ. นี้บังคับใช้ ให้ผู้มีอำนาจสั่งเลื่อนเงินเดือน มีคำสั่งเลื่อนเงินเดือน มีคำสั่งเลื่อนเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้นั้นที่ได้รอไว้ทั้งหมด
ก็จบแล้วนะครับสำหรับสรุปเกณฑ์การเลื่อนเงินเดือนของคุณครูและบุคลากรที่ทำงานด้านการศึกษา ซึ่งนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ใช้ในการพิจารณาเงินเดือนเท่านั้น ยังมีการประเมินจากผู้บังคับบัญชา ทั้งในด้านการทำงานและด้านคุณธรรมจริยธรรมเข้ามาด้วย แต่ไม่แน่ว่าอาจมีกฎเกณฑ์และข้อยกเว้นเพิ่มเติมเข้ามาอีก ซึ่งถ้ามีเข้ามาทางเทรนครูจะรีบเอามาบอกกับคุณครูทุกท่านแน่นอนครับ
****อ้างอิงจาก การประชุมทางไกล การสร้างความเข้าใจ การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา วันที่ 8 ก.พ. 2562
2 ความเห็นบน “สรุป !! เกณฑ์ในการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการครู ปี 2561”
ถ้ากรรมการไม่ประเมินตามตัวชี้วัด แต่เอาความรู้สึกเป็นการตัดสิน
เรียนปรึกษาเรื่องการขึ้นขั่นเงินเดือนรอบเมษายนที่ผ่านมาคือ
มีวันลา8ครั้ง13วัน
เพราะต้องลากิจพาบุตรชายไปรักษาตัวเนื้องอกในฐานรองกะโหลกศรีษะที่รพ.รามา ในกรุงเทพฯแลัทุกครั้งที่ลากิจจะมีเอกสารนัดหมายจากรพ.แนบ พร้อมใบแลกคาบในวันที่ลากิจทุกครั้ง ทำถูกต้องตามกฏระเบียบของราชการซึ่งโดยเกณฑ์การลาต้องลาร่วมกันไม่เกิน23 วันนะคะถึงจะไม่ได้ขึ้นเงินเดือน