เทคนิคการฟังเพื่อเข้าใจ (Empathy) เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยการจัดการกับนักเรียนที่มีปัญหา เด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เป็นกลุ่มที่ก่อเรื่องให้คุณครูต้องเหนื่อยใจ ซึ่งอาจจะเป็นนักเรียนกลุ่มเดิมๆ ซึ่งเมื่อเกิดการทะเลาะกันขึ้น โดยสัญชาตญาณแล้ว เราจะตัดสินไปก่อนแล้วว่า เด็กคนนั้นๆ ต้องเป็นคนเริ่มก่อเรื่องก่อนแน่นอน เพราะชอบทำตัวมีปัญหา ก่อเรื่องในโรงเรียนบ่อยๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เด็กคนนั้นอาจจะพยายามทำตัวให้ดีขึ้น แต่เค้าอาจขาดการให้โอกาสจากคุณครูหรือเพื่อนรอบข้าง ซึ่งก็เป็นเรื่องยากที่จะสร้างพลังให้เด็กคนเหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้!
แต่จะดีกว่ามั้ย? ถ้าทุกครั้งที่เกิดปัญหาทะเลาะกันขึ้น เราจะให้โอกาสเด็กๆที่มีปัญหากันได้ “เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้น” และ “อธิบายเหตุผล” ในสิ่งที่ได้ทำลงไป แล้วคุณครูมีหน้าที่ที่จะฟังด้วยความเข้าใจ (Empathy) โดยให้เด็กๆ ได้ลองอธิบายถึงผลที่จะตามมาจากการกระทำของเขา และหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเด็กๆเอง
คุณครูต้องเป็นผู้ฟังและผู้ไกล่เกลี่ยเท่านั้น ต้องไม่ตัดสินหรือบังคับให้เขาทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่ต้องให้เขาพูดออกมาเองว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก จะรับผิดชอบยังไง?
ลองนำวิธีการนี้ไปใช้กันดูนะครับ เผื่อว่าเราจะได้เห็นอีกมุมความคิดของเด็กๆเหล่านั้นก็ได้