หน้าหลักเทรนครู › ฟอรั่ม › ห้องครูศิลปศึกษา ดนตรีและนาฏศิลป์ › จบ fine art แล้วสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ่าง(ต้องอ่าน!!!!!!!!!)
แฮชแท็ก: ควายรู้ด้านศิลปะ
กระทู้นี้ประกอบด้วย 2 ข้อความตอบกลับ มี 3 เสียง และอัปเดตครั้งสุดท้ายโดย ครูเมตร 3 ปี, 10 เดือน มาแล้ว
-
ผู้เขียนข้อความ
-
มีนาคม 8, 2019 เวลา 11:25 am #4579
ศิลปิน เช่น เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 — ) เป็นจิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายผลงาน เช่น ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, เขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีทั้งงานสถาปัตถยกรรม, ประติมากรรมปูนปั้น และงานจิตรกรรมไทย ได้รับการยกย่องขึ้นเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ. 2554
นักวาดภาพประกอบ เช่น เบนซ์ – ธนวัต ศักดาวิษรักษ์ เป็นนักวาดภาพประกอบอีกหนึ่งคนที่เราชื่นชอบผลงานของเขาเป็นอย่างมาก ผลงานของเบนซ์อยู่ระหว่างสีสันที่ดูอ่อนโยน แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกดาร์คอย่างบอกไม่ถูกเช่นกัน ผลงานของ Bloody Hell Big Head ได้ถูกตีพิมพ์ลงนิตยสารชั้นนำอย่าง a day มีผลงานทำเป็นผ้าพันคอร่วมกับโปรเจ็คเจ๋งๆ อย่าง Youth Culture เป็นต้น ถือเป็นศิลปินที่มีผลงานมาตรฐานสากลหาตัวจับยาก
อาจารย์ เช่น ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ก่อตั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร
ภัณฑารักษ์ คือ
ภัณฑารักษ์ คือ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลพิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการ ความหมายความตัวอักษร ก็คือ ผู้ดูแลรักษาคลังเก็บสิ่งของ ความหมายโดยทั่วไป คือ “ผู้ดูแลสถานที่จัดแสดงและสิ่งจัดแสดง
ภัณฑารักษ์นับเป็นตำแหน่งที่สำคัญและรับผิดชอบสูง ทั้งในแง่บริหารและปฏิบัติการ หน้าที่หลักของภัณฑารักษ์ คือการจัดหา จัดหมวดหมู่ และจัดแสดงวัตถุในที่จัดแสดง รวมถึงการดูแล ซ่อมแซม และวางแผนจัดการและแผนการให้บริการ และยังมีส่วนอย่างมากในการประเมินราคาของศิลปวัตถุด้วย ด้วยเหตุนี้ ภัณฑารักษ์จึงต้องมีความชำนาญเฉพาะด้านเป็นอย่างดี นอกเหนือจากความรู้ด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ทั่วไป เช่น หากต้องดูแลพิพิธภัณฑ์อัญมณี ก็จะต้องมีความรู้ด้านอัญมณีศาสตร์ หากต้องดูแลนิทรรศการศิลปะ ก็ต้องมีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์หรือแนวความคิดร่วมสมัยที่เกี่ยวข้อง หรือหากต้องดูแลเทศกาลภาพยนตร์ ก็ต้องมีความรู้ด้านภาพยนตร์หรือทัศนศิลป์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของภัณฑารักษ์แตกต่างกันไป ตามลักษณะเฉพาะของสถานที่จัดแสดง
ในพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่จะมีภัณฑารักษ์จำนวนมาก โดยมีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะด้านตามความเชี่ยวชาญ และอาจมีผู้ช่วยภัณฑารักษ์อีกทอดหนึ่งก็ได้ ขณะที่นิทรรศการหรือพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กอาจมีภัณฑารักษ์เพียงไม่กี่คนหรือมีเพียงคนเดียว ทำหน้าที่ดูแลจัดการทุกสิ่งทุกอย่าง
ช่วงเช้าพอเเค่นี้อ่านกันเดียวเบื่อ ช่วงหน้าดิฉัน อดิเรก บุษบก จะมาให้ความรู้กันใหม่นะคะ
-
กระทู้นี้ถูกดัดแปลง 3 ปี, 10 เดือน มาแล้ว โดย
พรรพฤกษ์ษา
-
กระทู้นี้ถูกดัดแปลง 3 ปี, 10 เดือน มาแล้ว โดย
-
มีนาคม 8, 2019 เวลา 11:50 am #4583
ขอบคุณสำหรับข้อมุลดีดีค่า
-
มีนาคม 14, 2019 เวลา 12:08 pm #4821
จริงๆแล้วถ้าเอาตรงๆ จบ Fine Art มาทำอะไรได้บ้าง ก็อยากที่จขกท.บอกล่ะค่ะ
ไม่อาจารย์ ก็ ศิลปิน ซึ่งสองอย่างนี้ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นได้ เป็นอาจารย์ก็ต้องจบโท
ส่วนจะเป็นศิลปินก็ต้องมีความพยายาม มีเอกลักษณ์ของตัวเองมาก มีฝีมืออย่างเดียวไม่พอมันก็น่าน้อยใจนิดนึง เพราะแก่นของFine Art หรือศิลปะบริสุทธ์ ก็คือ Art for art sake ศิลปะเพื่อศิลปะ
ไม่ใช่เพื่อการดำรงชีพ ไม่ใช่เพื่อคนอื่น แต่เพื่อศิลปิน เพราะฉะนั้นมันจึงทำกินไม่ค่อยได้ (ฮ่า)แต่มองกลับกัน Fine Art เป็นรากฐานของศิลปะทุกชนิด เพราะฉะนั้นถ้าเรารู้จักประยุกต์เอาทักษะพื้นฐานนี้ไปใช้
ในเชิงประยุกต์ศิลป์ เราก็จะมีแต้มต่อของคนที่มีพื้นฐานทางด้านนี้มากกว่าคนที่ไม่มีค่ะ
อย่างแฟชั่นดีไซเนอร์ กราฟิก ถ่ายภาพ จัดวางexhibition และอาชีพที่เกี่ยวของกับศิลปะ
ความรู้เกี่ยวกับวีชาชีพเหล่านี้สามารถเรียนเพิมเติมในภายหลังได้ค่ะ แล้วเอามาบวกกับทักษะความสามารถด้าน Fine Art ของเรา
ก็จะดีมากค่ะเราจบ Fine Art มาค่ะ เรียนทัศนศิลป์ เอกภาพพิมพ์มา
เคยเป็นครูสอนศิลปะเด็ก, กราฟิกแบบอินเฮาส์ ทำสิ่งพิมพ์
แต่ตอนนี้เป็น กราฟิกออกแบบเว็บ และ พวกงาน Digital Media ค่ะเพื่อนในรุ่นเดียวกัน บางคนรับช่วงกิจการที่บ้าน บางคนดูแลพิพิธภัณฑ์
บางคนเป็นช่างภาพฟรีแลนซ์ บางคนมีกิจการเป็นของตัวเองโดยใช้ความรู้และประสบการณ์ที่เรียนมา และหาเอาจากที่อื่น
บางคนเป็นแอร์ เป็นสจ๊วต (ซึ่งไม่เกี่ยว555) บางคนออกแบบหนังสือในสำนักพิมพ์ไม่รู้ตอบตรงประเด็นรึเปล่า แต่มีอะไรถามเราได้ค่ะ น่ากลุ่มเป้าหมายตรงกับคำถามที่สงสัย
-
ผู้เขียนข้อความ
คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อตอบกลับกระทู้นี้