PLC ทำตามได้ไม่ยาก!!

ใครยังไม่รู้จะเริ่มยังไง ขั้นตอนการทำมีอะไรบ้าง เรามีคำตอบ พร้อมมีตัวอย่างแบบฟอร์มการบันทึกการทำ PLC มาฝากกันด้วยครับ ทั้งนี้ต้องขอบคุณตัวอย่างแบบฟอร์มดีดีเพื่อเพื่อนคุณครูทุกท่านจาก : โรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยา ไปทำตามกันทีละขั้นตอนได้เลยครับ

ก่อนจะไปลงมือทำ PLC เราจะต้องมาทำความรู้จักความหมาย PLC ให้ชัดกันก่อนว่าหมายความว่าอะไรกันแน่!
✔ P มาจาก Professional
✔ L มาจาก Learning
✔ C มาจาก Community
.
แปลความหมายตรงตัวเลยว่า : PLC = ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นั่นเองครับ
แล้วมันมีเพื่ออะไร ครูบางท่านคงพอรู้แล้ว เราขอขยายให้ทราบกันอีกครั้งนะครับ
เพื่อ >> แลกเปลี่ยนปัญหาที่ได้เจอ และเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก
ร่วมกันแก้ปัญหานั้นนำมาพัฒนาต่อ จนแก้ปัญหานั้นได้สำเร็จ

ขั้นตอน PLC ว่ามีขั้นตอนในการทำอย่างไร ต้องเริ่มจากตรงไหนก่อน?
ขั้นตอนในการทำ PLC เราสรุปมาให้เป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ด้วยกัน ดังนี้ครับ
▶ ขั้นตอนที่ 1 : การสร้างทีม จะเริ่มสร้างทีมยังไง เลือกใครเป็นทีมงานกับเราดี คำถามนี้เราจะมาหาคำตอบกัน!
▶ ขั้นตอนที่ 2 : กำหนดปัญหาที่แท้จริง ให้ครูเริ่มจากปัญหาที่ครูเจอบ่อยๆ พบบ่อยๆ
และเป็นปัญหาที่เด็กๆส่วนใหญ่เป็นกัน และครูยังหาทางแก้ไม่ได้ นั่นแหละครับปัญหาที่เราจะหยิบมาทำได้
▶ ขั้นตอนที่ 3 : วางแผนการแก้ไข และกระบวนการ แผนดีมีชัยไปกว่าครึ่งแน่นอน คำพูดนี้ยังใช้ได้ทุกสถานการณ์นะครับ
ครูและเพื่อนครู ต้องทำการวางแผน แบ่งหน้าที่ของแต่ละคน รวมทั้งหาวิธีการแก้ไข สิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างการทำงานไว้ด้วย
▶ ขั้นตอนที่ 4 : ลงมือปฏิบัติตามแผน เมื่อวางแผนเสร็จ กระบวนการทำเสร็จ ก็ถึงขั้นลงมือปฏิบัติสิครับ ลองผิดลองถูก กันเลย ครับคุณครู
▶ ขั้นตอนที่ 5 : สนทนาสะท้อนผลหลังการปฏิบัติ ขั้นตอนนี้ครูต้องกลับมาสรุปกันในทีมก่อน แสดงความเห็นร่วมกันว่าปัญหาที่เราเลือกและนำวิธีแก้ไขไปใช้นั้น
สามารถใช้ได้จริงไหม หรือถ้ามันไม่สามารถใช้วิธีการนี้ได้ ให้กลับไปเริ่มที่ข้อ 3 กันใหม่ อย่าเพิ่งท้อนะครับครู
เมื่อรู้ทั้งหมด 5 ขั้นตอนคร่าวๆไปแล้ว ในแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดอะไรบ้าง ไปดูกันเลยครับ

มาเจาะทีละขั้นตอนไปพร้อมๆกันนะครับ ☺
▶ เริ่มขั้นตอนที่ 1 สร้างทีม
ต้องถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะเป็นการสร้างทีมงาน หาทีมงาน ที่จะร่วมกันทำ PLC คุณครูต้องจับกลุ่มเลือกทีมกันเองโดยคุณครูรวมกลุ่มครูด้วยกัน
ได้ตามความเหมาะสม อาจจะเป็นเพื่อนครูที่สนิทกัน กลุ่มสาระเดียวกัน โรงเรียนเดียวกัน มาจับกลุ่มรวมกัน จะได้ทำงานกันง่ายขึ้น หรือจะต่างกลุ่มสาระ ต่างโรงเรียน
ก็ได้เช่นกันครับ และอาจจะต้องหาครูที่พอจะทำเรื่องเทคโนโลยีมาช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้นเพื่อความต่อเนื่องของการทำ PLC
เช่น การสร้างกลุ่มไลน์ วิดีโอคอล ประชุมกันก็ได้เช่นกันครับ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวก ของคุณครูนะครับ แต่อย่าลืมนะครับ “เริ่มต้นดี PLC ก็เกิด”
.
แบบที่ 1 : กลุ่มสาระเดียวกัน/ใกล้เคียงกัน + อยู่โรงเรียนเดียวกัน
แบบที่ 2 : ต่างกลุ่มสาระ + สอนระดับชั้นเดียวกัน + อยู่โรงเรียนเดียวกัน
แบบที่ 3 : กลุ่มสาระเดียวกัน + ครูต่างโรงเรียน
แบบที่ 4 : ต่างกลุ่มสาระ + สอนระดับชั้นเดียวกัน + ครูต่างโรงเรียน

▶ ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดปัญหาที่แท้จริง
.
ขั้นตอนนี้ก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญไม่แพ้การสร้างทีม เพราะ “การกำหนดปัญหา” เราจะต้องหาทางแก้ไขปัญหานั้นให้ได้ด้วย
คุณครูหลายๆคน อาจจะยังมองไม่ออกว่าจะต้องเริ่มปัญหาจากไหน และสิ่งที่ง่ายที่สุดคือให้เรามองไปรอบๆตัวก่อน
และเลือกหยิบปัญหาที่เกิดขึ้นใกล้ๆตัวเราก่อน จะเป็นปัญหาเล็กๆก่อนก็ได้ แต่ต้องคำนึงว่าปัญหานั้นจะมาช่วยนักเรียนได้
เช่น เด็กไม่ยอมทำการบ้าน หรือไม่ส่งงานตามกำหนด เป็นอีกหนึ่งเรื่องใกล้ตัวที่สามารถทำสำเร็จภายใน 1 ภาคเรียน และสามารถเชื่อมโยงกับสมรรถนะ
และคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักเรียนได้

▶ ขั้นตอนที่ 3 กาวางแผนและออกแบบกระบวนการ
.
เมื่อเราได้กำหนดปัญหาเรียบร้อยแล้ว คุณครูและทีมงานต้องมาร่วมกันออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้
โดยให้เริ่มจากการวางแผนกิจกรรมที่จะทำร่วมกัน แบ่งหน้าที่ของแต่ละบุคคลว่า ใครจะทำหน้าที่อะไรบ้าง
ซึ่งจะต้องมี ผู้ดำเนินการ ผู้จับเวลา ผู้บันทึกคำถามตำตอบ ผู้เก็บภาพพฤติกรรมนักเรียน ผู้สังเกตการณ์ ทุกหน้าที่มีความสำคัญอย่างมาก
ควรแบ่งหน้าที่ของแต่ละบุคคลให้ชัดเจน และทุกคนต้องรับฟังซึ่งกันและกัน และสิ่งสำคัญในการวางแผนก็คือต้องพยายามทำให้บรรลุเป้าหมายให้ได้มากที่สุด
และต้องตอบโจทย์วัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่เราวางไว้ด้วยนะครับ

และแล้วก็มาถึงช่วงเวลาที่สำคัญมากๆ นั่นคือการลงมือปฏิบัติจริง นั่นเอง!
.
▶ ขั้นตอนที่ 4 เป็นการลงมือปฏิบัติจริงตามแผนที่ทีมได้คิดกันมาอย่างดีแล้ว
โดยให้สมาชิกทุกคนเข้าร่วมและประจำตำแหน่งหน้าที่ตามที่วางไว้ตามแผน ซึ่งในระหว่างการจัดการเรียนการสอนสิ่งที่ควรบันทึก/ข้อมูลที่เราควรจะเก็บระหว่างจัดการเรียนการสอน มีอะไรบ้างไปดูกันครับ
> ข้อมูลพื้นฐานของกิจกรรมที่ทำ : ชื่อเรื่อง กลุ่มนักเรียนที่ร่วมกิจกรรม วันที่ เวลาเริ่มต้น ถึงสิ้นสุด เป็นต้น
> บรรยากาศช่วงเริ่มต้นการสอน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ว่านักเรียนมีปฏิกิริยากับสิ่งที่คุณครูสอนอย่างไรบ้าง สนใจมากน้อยแค่ไหน
> การจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามแผนหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามแผนให้ระบุสาเหตุด้วย
> พฤติกรรมนักเรียนระหว่างจัดการเรียนการสอน เกิดการเรียนรู้เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่
> ครูมีวิธีจัดการ/ดำเนินการกับนักเรียนที่แสดงออกมาระหว่างเรียนว่ารู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องในเรื่องที่สอนอย่างไรบ้าง
> ระหว่างจัดการเรียนการสอน มีสิ่งใดที่เป็นจุดแข็งหรือจุดอ่อน หรือต้องแก้ไขส่วนใด

สุดท้าย… เราก็มาถึงขั้นตอนที่ลุ้นที่สุดกันแล้วครับบบ !!
.
▶ ขั้นตอนที่ 5 การสนทนาสะท้อนผลการปฏิบัติเมื่อคุณครูได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนมาร่วมกันตั้งคำถาม สะท้อนคิดผลจากการที่ได้จัดการเรียนการสอนไปแล้ว
.
โดยในการสรุปนั้น พยายามตอบคำถามใน 4 ประเด็นดังต่อไปนี้ ให้ไดมากที่สุดครับ
> นักเรียนได้เรียนรู้และเกิดพฤติกรรม ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้มากน้อยแค่ไหน?
> เรารู้ได้อย่างไรว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือบรรลุตามเป้าหมายที่เราวางไว้
> เราจะจัดการหรือหาวิธีทำอย่างไรกับกลุ่มนักเรียนที่ไม่เกิดการเรียนรู้หรือไม่บรรลุพฤติกรรมตามเป้าหมาย
> เมื่อนักเรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุพฤติกรรมตามเป้าหมายแล้วจะทำอย่างไรต่อ?
> หาคำตอบกันให้ได้มากที่สุดนะครับ เพราะยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไหร่ เราจะมีข้อมูลไปวิเคราะห์ในการทำ PLC
ในวงรอบต่อไปง่ายขึ้นครับ
.
>> และจากนั้น ให้สมาชิกในทีมร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนรู้ในรอบใหม่ โดยครูคนที่เป็นเจ้าภาพจัดการเรียนรู้
นำผลที่สรุปไว้มาบันทึกรวบรวมผล และเก็บไว้ให้เรียบร้อย
บอกเคล็ดลับกันนิดนึงครับ
**เทคนิคการสรุปผล : ควรบรรลุ 2 เป้าหมายดังนี้ครับ
>> ในการบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ ต้องสะท้อนว่ากว่าจะสามารถพัฒนาลูกศิษย์ให้บรรลุผลได้นั้น สมาชิกได้มี “บทเรียนที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน” อย่างไรบ้าง ส่วนนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญมาก!ผลจากการสรุปต้อง “นำไปสู่การวางแผนจัดการเรียนรู้ในรอบใหม่” เพราะจะทำให้เกิดความแม่นยำในการแก้ปัญหาและ
มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
.
>> และสุดท้ายเมื่อสรุปผลครบถ้วน ครูสามารถเริ่มดำเนินการจัดการเรียนรู้ในรอบใหม่ได้เลย นั่นก็คือกลับไปใน ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนและออกแบบกระบวนการ นั่นเอง
วนกลับมาทำอีกครั้งซึ่งเมื่อเกิดการทำแบบนี้ซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายจะกลายเป็นการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ที่มีความเฉพาะเจาะจงของโรงเรียนนั้นๆ ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มการเรียนรู้นั้นๆและจะทำให้เราเป็น “ครูมืออาชีพ” มากขึ้น!

คุณครูกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน > ส่งข้อมูล > ดาวน์โหลดไฟล์ไปใช้งานได้เลยครับ ขอบคุณตัวอย่างแบบฟอร์มดีดีเพื่อเพื่อนคุณครูทุกท่านจาก : โรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยา

มาเป็นครอบครัวเดียวกับเทรนครูนะครับ 💖
ศูนย์รวมเรื่อง ครู-ครู : ทันข่าว ทันกระแส วิทยฐานะ, ประกาศกระทรวง, แจกสื่อการสอน คูปองครู และข่าวสารต่างๆ ที่จะทำให้ครูไม่ตกเทรนด์!

สรุปกำหนดการอบรมหลักสูตรออนไลน์สำหรับผู้ที่ได้รับสิทธ์ กับ LearnEducation

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (13/2/63)

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการด้านกีฬา เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Nakamwittaya Academy) (13/2/63)

“นวัตกรรมเพื่อสังคม” ที่สร้างรายได้ สร้างสุขภาพ สร้างความสุข ให้แก่สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม

สามครูไทย คว้ารางวัล Global Teacher Award ที่อินเดีย

13 ความเห็นบน “เจาะลึกทีละขั้นตอน PLC ทำตามได้ไม่ยาก!”
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้นะคะ
ขอบคุณมากค่ะ เข้าใจมากขึ้นจริงๆ
ขอบคุณสำหรับสิ่งดีดีค่ะ
อยากทราบว่าการบันทึกกิจกรรมplc ครูทุกคนในกลุ่ม (model และ buddy)ต้องบันทึกมั้ยคะ
ขอขอบคุณมาก
ขอบคุณคะ
ขอบคุณมากค่ะ
ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ที่ได้รับ
ขอบคุณนะคะ….ได้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ
ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ
ขอบคุณค่ะ